Workshop Review: Understand your information by Pruxus

Chotika Sopitarchasak
3 min readMay 21, 2023

--

อยากจะมาเล่าประสบการณ์การไปลง Workshop เกี่ยวกับเรื่อง Information architecture มาค่ะ โดยส่วนตัวเมี่ยวสนใจด้านนี้อยู่แล้ว และเคยมีได้แตะ ๆ เรื่องนี้ตอนที่ไปลงเรียนที่ General Assembly ที่สิงคโปร์มา เลยอยากรู้ว่าของที่ไทยเป็นยังไง นี่ถือว่าเป็น Workshop แรกของปีนี้เลย

ภาพรวม Workshop

ภาพรวมของ Workshop วันนี้คือการทำความเข้าใจในข้อมูลที่เรามี, การรับรู้ข้อมูลของคน, การจัดกลุ่มของข้อมูล รวมไปถึงการตั้งชื่อกลุ่มของข้อมูล ซึ่งพี่พิจ (พิจารณา รัตนาธิกุล) เป็นคนสอนในวันนี้ โดยส่วนตัวเราฟัง Puxod podcast ที่พี่พิจเป็นโฮสต์อยู่แล้ว วันนี้ได้มาเรียนกับพี่พิจจริง ๆ รู้สึกประทับใจมาก เพราะเราได้รื้อฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับการทำ Information architecture อีกครั้ง (เราแอบชอบน้ำเสียงของพี่พิจตั้งแต่ตอนที่พี่เค้าจัด Podcast แล้ว และเสียงก็น่าฟังมากด้วย)

ตัวเนื้อหาที่พี่พิจสอนในวันนี้ก็ไม่ได้ Advance เราว่ามันค่อนข้างเบสิค ฟังแล้วเข้าใจง่าย เราว่ามือใหม่หรือคนที่ย้ายสายก็สามารถมาเรียนเรื่องนี้ได้ เพราะนอกจากจะมีบรรยายแล้วยังมีการให้ลงมือทำอีกด้วย

การทำ Workshop ในครั้งนี้ เค้าแบ่งออกเป็น 4 โต๊ะ โต๊ะนึงมีประมาณ 5–6 คนและมีกิจกรรมให้ทำเป็นกลุ่มสลับกับการสอนที่ไม่ใช่แค่พูดตามสไลด์ กิจกรรมที่ทำใน Workshop ช่วยให้เราค่อย ๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Information architecture รวมถึงการทำ Affinity diagram อีกด้วย วันนี้เราได้ทำกิจกรรมรวมกันถึง 5 กิจกรรมเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเยอะมาก เหมือนค่อย ๆ ฝึกไปทีละนิดจากเรื่องง่ายจำนวนน้อย ไปจนถึงเรื่องยาก ตั้งแต่การรวมกลุ่มข้อมูลไปจนถึงการตั้งชื่อกลุ่มของข้อมูล

ในส่วนของเนื้อหา หลัก ๆ เริ่มจากเรื่องของการรับรู้ของคนเรา การทำงานต่อสมองในเรื่องการรับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Short term หรือ Long term memory และจากนั้นจะเป็นเรื่องของโครงสร้างของข้อมูล (Information Architecture) และ Information Design

ต่อมาจะเป็นการสอนหลักการในการทำ Affinity Diagram ซึ่งมันเหมือนกันการสอนให้เราดูเหรียญอีกด้าน เหรียญด้านแรกที่ส่วนตัวเรามองคือปกติเราจะกำหนดหัวข้อก่อนจัดเรียงข้อมูลใส่ตามหัวข้อนั้น แต่เหรียญอีกด้านหรือการทำ Affinity diagram คือการจัดกลุ่มข้อมูลก่อนแล้วค่อยตั้งชื่อ มันดูเหมือนจะดูง่ายแค่ทำสลับกับการรับรู้ของเราเมื่อก่อน แต่พอลงมือทำจริง ๆ พบว่า โห มันใช้เวลาคิดนานมาก ๆ เลยนะ มันยากแบบนี้นี่เอง

กิจกรรมที่เราประทับใจที่สุด

คือการที่ให้สรุปสิ่งที่เราเรียนลงบน Post-it note (Sticky note) แล้วรวมข้อมูลกับเพื่อนที่นั่งโต๊ะเดียวกัน แล้วทดลองทำ Affinity Diagram จริง ๆ ซึ่งพอเรามีข้อมูลที่เยอะขึ้น ไม่ได้มีแค่ข้อมูลที่เราเขียน แต่เป็นของทั้งโต๊ะ เลยยิ่งเห็นว่าการทำ Information architecture ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในเวลาสั้น ๆ แล้วยังต้องพูดคุยกับเพื่อนในกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ซึ่งมันจะทำให้เราเห็นได้ว่าคนแต่ละคนก็จะมีความคิดเห็นหรือการคิดวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้เรารู้สึกสนุกมาก ๆ

และที่สำคัญคือเราสามารถเอาสกิลนี้ไปประยุกต์กับเรื่องต่าง ๆ ได้เช่น การสรุปเนื้อหาการประชุม การระดมไอเดียต่าง ๆ เรารู้สึกว่าหลังจากนี้เราจะสามารถจัดระเบียบข้อมูลที่มีเต็มหัวให้เป็นระเบียบได้มากขึ้น

Key takeaways จาก Workshop

การรับรู้ข้อมูลของคน

  • คนเรามีเวลาในการ Scan เนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ไม่เกิน 10 วินาที เพราะฉะนั้นเราควรทำให้ข้อมูลของเราหาง่าย เพื่อให้ User หาสิ่งที่ต้องการเจอ
  • การทำ Repetition จะช่วยให้ Short term memory กลายเป็น Long term memory

Information Architecture VS Information Design

  • Information Architecture is Organizing + Labeling + Structure
  • Information Design is presenting (หน้าตาของหน้า UI ที่มีข้อมูลโชว์อยู่)
  • ควรทำ Information Architecture ก่อนการทำ Information Design เพราะถ้าเรามีโครงสร้างของข้อมูลที่ชัดเจนแล้ว เวลาเอาไปทำดีไซน์พวกงาน UI หรือ Visual มันจะง่ายยิ่งขึ้น

Affinity Diagram กับการรวมกลุ่มของข้อมูล

  • Affinity Diagram เลยเป็นการรวมกลุ่มข้อมูลแบบ Buttom up ก็คือรวมข้อมูลที่มีแคมีเดียวกันมาอยู่ด้วยกันแล้วค่อยตั้งชื่อกลุ่มทีหลัง
  • การรวมกลุ่มข้อมูลคือการลดปริมาณของ Information ที่กระจัดกระจายให้อยู่ในที่เดียวกัน
  • ระวังโดนหลอกจากคำขึ้นต้นต่าง ๆ เพราะจะทำให้เรา Group ของผิดเช่น เก็บผัก, เก็บเห็ด, เก็บตะวัน (อันหลังคือเพลง)
  • เอาข้อมูลลง Post-it แล้วใช้ปากกาหัวใหญ่เขียนด้วยตัวหนังสือที่ใหญ่, ใส่เพียง 1 ประเด็น, ลงชื่อไว้, และต้องสามารถอธิบายได้ด้วยตัวมันเอง (ไม่ใช่แค่คำ ๆ เดียว เพราะคำหนึ่งคำอาจมีหลายความหมาย)

การตั้งชื่อกลุ่มให้ชัดเจนและไม่สั้นจนเกินไป

  • ควรระวังการ Labeling ด้วยคำที่ทั่วไปมาก ๆ เช่น อื่น ๆ หรือ พิเศษ เพราะมันไม่ได้ระบุชัดเจนว่า Label นี้คืออะไร เดายาก
  • และไม่ควรใช้คำที่ Fancy มาก ๆ แม้มันจะดูเก๋ในด้าน Marketing แต่มันไม่ Practical
  • อย่าติดกับการตั้งชื่อกลุ่มแบบเดิม ๆ หรือไปก๊อปคนอื่นมาโดยไม่ดูว่าข้อมูลที่เรามีคืออะไร
  • การตั้งชื่อกลุ่มต้องชัดเจนเพียงพอ ไม่ใช่ข้อมูลใน Post-it เราต้องเกิดความลังเลว่าจะอยู่ในกลุ่มไหน (Mutually Exclusive)
  • ชื่อกลุ่มอย่าใช้คำเดียวโดด ๆ ให้เขียนเป็นประโยคที่ทำให้คนเดาได้ว่าของในกลุ่มนี้คืออะไร
  • ของชิ้นเดิมไม่จำเป็นต้องอยู่ในชื่อกลุ่มเดิม ๆ

สิ่งที่อยากให้ปรับ

ตัว Worksheet ที่ให้มา ปริ้นท์ออกมาไม่ชัดเจน แล้วบางอันก็คือมีใน Worksheet แต่เป็นรูป ไม่ได้เขียนเพิ่มเติมแล้วใน Slide ก็ไม่มี บางอันมีใน Slide แต่ใน Worksheet ไม่มี ทำให้เราต้องมาจดวาดแผนภาพเพิ่ม ซึ่งทำให้เราหลุดสมาธิที่จะตั้งใจฟังไปแว้บนึง ถ้าทำตัว Worksheet ให้อ่านชัดแล้วจัดวางให้เป็นระเบียบกว่านี้ จะดีมาก ๆ เลยค่ะ

Workshop นี้เหมาะกับใคร

  • UX designer, UI designer, Product designer
  • คนที่อยากจะมาเป็น UX designer
  • คนที่ต้องจัดการข้อมูลที่มีจำนวนมาก ๆ
  • คนที่สนใจเรื่องของ Information Architecture

ราคา

เราซื้อบัตร Early bird 3,200 บาท ราคาเต็มอยู่ที่ 4,900 บาท สำหรับเรา มันคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม คุ้มค่าราคา Workshop มาก และทางวิทยากรหรือพี่พิจเองก็เก่งมาก ๆ ถามได้ ตอบได้ทุกคำถามเลย เราอยากแนะนำให้ทุกคนได้ลองมาลง Workshop นี้กัน สถานที่จัดก็เป็น Co-Working space ติดรถไฟฟ้าสถานีศาลาแดง เดินทางสะดวก แถมภายใน Workshop ยังมีขนมกุ๊บกิ๊บกินแก้เบื่ออีกด้วย

จบแล้วค่ากับการรีวิว Workshop ในวันนี้ ถ้ามี Workshop หน้า จะพยายามมารีวิวอีกทีค่า สามารถคอมเม้นต์ ปรบมือ หรือจะไปคุยกับที่ทวิตเตอร์ @Meawzilaz ได้ค่า

--

--

Chotika Sopitarchasak

Thai UX/UI Designer | Former Graphic Designer | KMUTT | SoA+D